มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้มีประกาศจัดตั้งสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ในปี พ.ศ. 2525 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 40 วันที่ 12 มีนาคม 2523) โดยในปีการศึกษา 2525 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ ต่อมาเมื่อมีความต้องการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและอนุปริญญามากขึ้น จึงได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 3 ปี แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ ในปีการศึกษา 2526 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจต่อเนื่อง 2 ปี ในปีการศึกษา 2531 และปริญญาตรี 4 ปี แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ในปีการศึกษา 2536

นอกจากนั้นในปีการศึกษา 2537 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้ทำการประเมินและปรับปรุงหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ปริญญาตรี 4 ปี และต่อเนื่อง 3 ปี โดยปรับให้เหลือเพียงหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ 4 ปีเท่านั้น เพื่อสะดวกในด้านบริหารจัดการ และได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2543 และได้ใช้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ 4 ปี ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 และต่อมาได้มีการปรับปรุงหลักสูตรอีกครั้ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณารับทราบการให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 โดยมีกำหนดเปิดสอนในภาคการศึกาที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ส่วนหลักสูตรเศรษฐศาสตรธุรกิจ หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และต่อเนื่อง 3 ปี ได้ทำการปรับปรุง เป็นหลักสูตร 4 ปี หลักสูตรเดียว ซึ่งมีกำหนดเปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2552

การพัฒนาประเทศและกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้ความต้องการกำลังคนในระดับสูงเพิ่มมากขึ้น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์จึงได้เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาโทครั้งแรก 1 หลักสูตร คือ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์ ในปีการศึกษา 2542

สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ในปี 2551 เพื่อให้หลักสูตรมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ทั่วไป และวิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ซึ่งมีกำหนดการเปิดสอนในปีการศึกษา 2553 เพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงสนองความต้องการส่วนบุคคลให้แก่สังคมต่อไป

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ ระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งเป็นระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยอาศัยสื่อประสม ได้แก่ สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ การสอนเสริม และผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบกันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการการศึกษาเท่าที่จำเป็น ผู้เรียนจะใช้วิธีการเรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่ที่สะดวก

  – ศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจ เป็นศูนย์บริการการศึกษาที่ได้รับความร่วมมือของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ ของสาขาวิชาเป็นครั้งคราวตามความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาเฉพาะอย่าง เช่น สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจขึ้น ณ สำนักงานเกษตรประจำภาค และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษาเฉพาะกิจขึ้น ณ โรงพยาบาลหรือวิทยาลัยพยาบาลต่างๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในการให้การศึกษาให้คำปรึกษาแนะนำทางวิชาการเสริมความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ฝึกงาน ฝึกปฏิบัติในห้องทดลอง ฝึกปฏิบัติภาคสนามเฉพาะวิชา ทั้งยังเป็นแหล่งกลางในการสรรหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะ เพื่อเสนอต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้งเป็นอาจารย์สอนเสริม

1.ปรัชญาและวิสัยทัศน์
เป็นแนวทางกว้างๆ สำหรับการดำเนินงานของหลักสูตรต่างๆ ที่สอดคล้องกับปรัชญาการเรียนการสอนทางไกล และเน้นการศึกษาเล่าเรียนด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้และวิทยาการที่จัดในรูปฐานความรู้ผ่านสื่อประสมประเภทต่างๆ รวมถึงแหล่งวิทยาการในชุมชนและสังคม

วัตถุประสงค์

เพื่อให้บริการการสอนในระดับปริญญาและประกาศนียบัตรในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ตามความต้องการของสังคม

เพื่อให้บริการการสอนวิชาพื้นฐานทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนในรูปของการเผยแพร่ความรู้และการศึกษาต่อเนื่อง

เพื่อส่งเสริมการวิจัยค้นคว้าในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์

ศูนย์บริการการศึกษา

     มหาวิทยาลัยมีศูนย์บริการการศึกษาเพื่อเป็นแหล่งบริการการศึกษาแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยอยู่ทั่วประเทศ ในลักษณะที่เป็นศูนย์บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัย และศูนย์บริการการศึกษาที่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

     1. ระดับมหาวิทยาลัย
     มหาวิทยาลัยจัดตั้ง “ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ.“ เป็นเครือข่าย ซึ่งจัดตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยงานในสังกัดของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บริการสื่อการศึกษาและบริการข่าวสารข้อมูลต่างๆ ของมหาวิทยาลัยแก่นักศึกษา นักเรียน และผู้สนใจใฝ่รู้โดยทั่วไปรวม 10 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครศรีธรรมราช 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุบลราชธานี 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. เพชรบุรี 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. สุโขทัย 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ลำปาง 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. จันทบุรี 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. อุดรธานี 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครนายก 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. ยะลา 
     – ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ. นครสวรรค์ 

พันธกิจ

ผลิตบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม
วิจัย ส่งเสริม พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อพัฒนาชุมชน และสังคม
จัดการศึกษา/อบรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านเศรษฐศาสตร์


มีหลักสูตร 1 ระดับ 1 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2559-TQF) ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ
– วิชาเอกเศรษฐศาสตร์
– วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

[contact-form-7 id="453" title="Contact Form 2"]